พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542: 77) ได้กล่าวความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ (Learning) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง นักจิตวิทยา ครู อาจารย์ ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงของการศึกษา จึงให้ความสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ และการประพฤติปฏิบัติของคนเราจะเป็นไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ
สุวรรณี ยหะกร (2553: 10-6) ได้อ้างถึงนักวิชาการชื่อ
นรา สมประสงค์ และโกศล มีคุณ (2538: 144) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้สรุปได้ดังว่า เป็นพื้นฐานและกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวผู้เรียนมาจัดรูปแบบการเรียนการสอน มาจัดสภาพแวดล้อม หรือมาจัดสถานการณ์ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนเพื่อให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสามารถนำไปใช้ได้
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt ได้อ้างถึงนักวิชาการชื่อ
Richard R. Bootsin กล่าวว่า
1) การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
2) มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
3) ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน No one old to learn
4) การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
สรุปความสำคัญของการเรียนรู้
การเรียนรู้มีความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการเรียนการสอนนั้นผู้สอนสามารถใช้เป็นพื้นฐานและกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดได้
ที่มา
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา Educational Psychology.
กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สุวรรณี ยหะกร. (2553). เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาและวิทยาการการ
เรียนรู้ Psychology and Learning Methodology. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. ทฤษฎีการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558.
สุวรรณี ยหะกร (2553: 10-6) ได้อ้างถึงนักวิชาการชื่อ
นรา สมประสงค์ และโกศล มีคุณ (2538: 144) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้สรุปได้ดังว่า เป็นพื้นฐานและกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวผู้เรียนมาจัดรูปแบบการเรียนการสอน มาจัดสภาพแวดล้อม หรือมาจัดสถานการณ์ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนเพื่อให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสามารถนำไปใช้ได้
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt ได้อ้างถึงนักวิชาการชื่อ
Richard R. Bootsin กล่าวว่า
1) การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
2) มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
3) ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน No one old to learn
4) การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
สรุปความสำคัญของการเรียนรู้
การเรียนรู้มีความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการเรียนการสอนนั้นผู้สอนสามารถใช้เป็นพื้นฐานและกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดได้
ที่มา
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา Educational Psychology.
กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สุวรรณี ยหะกร. (2553). เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาและวิทยาการการ
เรียนรู้ Psychology and Learning Methodology. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. ทฤษฎีการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558.