สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ (2551:
23-31) ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบอภิปรายไว้ดังนี้
ความหมาย
การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย
คือกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบแนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน
การจัดการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้คือ ร่วมคิด
ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติงานและชื่นชมผลงานร่วมกัน
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน
และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง
2.
เพื่อฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การนำเสนอผู้นำ ผู้ตาม
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
3.
เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูล
ข้อเท็จจริงมาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ
ประเภทของการอภิปราย
การอภิปรายนั้นมีรูปแบบหรือประเภทการจัดการอภิปรายหลากหลายรูปแบบ
อาทิ เช่น
1. การอภิปรายเป็นคณะ (Panel
Discussion)
เป็นการอภิปรายที่แยกคณะผู้อภิปรายจากผู้ฟัง
โดยคณะผู้อภิปรายจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุมิหรือผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาต่างๆในเรื่องที่จะอภิปรายประมาณ
3-6
คนมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอองค์ความรู้ต่างๆจากประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องหรือหัวข้อที่กำหนดต่อผู้ฟัง
โดยมีดำเนินการอภิปราย (Moderator) จำนวน 1 คน ทำหน้าที่เชื่อมโดยงความคิดเห็น ซักถาม ควบคุมและสรุปผลการอภิปราย
พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
วิธีการอภิปรายจะแบ่งเป็นรอบ ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 รอบโดยมักจะกำหนดเวลารอบแรกมากกว่ารอบที่สอง
รอบแรกจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญนำเสนอองค์ความรู้ในเวลาที่กำหนดให้
ส่วนรอบที่สองให้สรุปประเด็น หรือเติมเต็มความรู้จากรอบแรก
หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามและถ้าตรงกับเรื่องใดผู้เชี่ยวชาญท่านั้นจะเป็นผู้ตอบ
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้
มักจัดเป็นแบบห้องเรียนหรือแบบโรงละคร ตัวอย่างหัวข้ออภิปราย เช่น
-
วิกฤติการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
-
ครูยุคใหม่กับ ICI
2.
การอภิปรายแบบฟอรั่ม (Forum Discussion)
ในภาษาไทยมีผู้บัญญัติศัพท์คำที่ใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า
“Forum”
ว่า “อาศรม” การอภิปรายแบบนี้เป็นลักษณะการอภิปรายในเรื่องหรือหัวข้อที่ทุกคนสนใจร่วมกัน
โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆเป็นอย่างดีหรือบางทีเราเรียกว่าองค์ปาฐก
(Keynote Speaker) มาแสดงปาฐกถานำ
ต่อจากนั้นจึงมีการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจมากกว่า 1 คน
หลังจากจบการปาฐกถาหรืออภิปรายแล้ว จะเปิดเวทีให้ผู้ฟังซักถามได้อย่างเต็มที่
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้
มักจัดเป็นแบบตัวยู (U-shape) แบบตัวโอ (O-shape) แบบครึ่งวงกลม (Semicircle) หรือแบบโต๊ะกลม (Round
Table) ตัวอย่างหัวข้ออภิปรายเช่น
-
30
บาทรักษาได้ทุกโรคจริงหรือ
-
อาศรมทางปัญญาว่าด้วยการพัฒนาสมองสองซีก
3.
การอภิปรายแบบสัมมนา (Seminar
Discussion)
เป็นการอภิปรายที่มีสมาชิกกลุ่มจำนวนมากกว่า
20
คนขึ้นไปในหัวข้อกำหนดไว้
ส่วนใหญ่เป็นหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการให้สมาชิกศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือประเด็นที่เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่ต้องการความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการตัดสินใจ
โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา (Participant)
ได้ร่วมอภิปรายกันอย่างอิสระ
ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนามักจะเป็นผู้ที่มีความสนใจหรือมีประสบการณ์ในเรื่อง/หัวข้อที่สัมมนา
หัวข้อสัมมนามักจะเปิดกว้างเพื่อแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้จำนวนมาก
ผู้ทรงคุณวุฒิหรือเชี่ยวชาญมาให้ความรู้ หรือคำแนะนำในเบื้องต้น
หลังจากนั้นจะแบ่งเป็นกลุ่มสนใจตามหัวข้อย่อยของเรื่องที่กำหนด
ผู้เข้าสัมมนาจะเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความรู้ความคิดเห็นในเวลาเดียวกัน
การสัมมนาไม่มีการลงมติ
เป็นเพียงการประมวลผลความคิดเห็นเพื่อตอบประเด็นหรือกระทู้ที่ตั้งไว้
และสรุปเป็นข้อเสนอแนะไว้ หลังจากนั้น ผู้แทนกลุ่มย่อยทุกกลุ่มออกไปนำเสนอความคิดเห็นต่อกลุ่มใหญ่เพื่อสรุปรวมความคิดเห็นของสัมมนาสมาชิก
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้
ในช่วงแรกมักจัดเป็นแบบห้องเรียนหรือแบบโรงเรียนละคร
ส่วนในช่วงหลังมักจัดเป็นกลุ่มย่อยแบบโต๊ะกลม (Round Table) แบบตัวยู (U-shape) หรือแบบตัวโอ (O-shape) ตัวอย่างหัวข้อสัมมนา เช่น
-
แนวทางปฏิรูปการจัดการเรียนรู้
-
การแก้ปัญหายาเสพติดในโรงเรียน
-
การกระจายอำนาจทางการศึกษา
4.
การอภิปรายแบบซิมโพเซี่ยม (Symposium Discussion)
เป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้อภิปรายหลายคน
ซึ่งผู้ร่วมอภิปรายแต่ละคนจะนำเสนอผลงานหรือข้อค้นพบที่ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามาอภิปราย
ผู้ดำเนินการอภิปราย (Moderator)
จะเป็นผู้เชื่อมโยงเรื่องที่ผู้อภิปรายแต่ละคนนำเสนอให้ผุ้ฟังเข้าใจในประเด็นสำคัญต่างๆมากยิ่งขึ้น
และผู้ฟังเลือกซักถามข้อข้องใจต่างๆกับผู้อภิปรายผ่าน ผู้ดำเนินการอภิปราย
ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้อภิปรายที่เกี่ยวข้องแต่ละท่านเป็นผู้ตอบคำถาม
โดยอาจสรุปให้กระชับตรงประเด็นในกรณีที่คำถามหรือคำตอบไม่ชัดเจน
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้เป็นแบบห้องเรียนหรือโรงละคร
โดยแบ่งเป็นห้องประชุมย่อยตามหัวเรื่องหรือประเภทของผลงาน
ตัวอย่างหัวข้อการอภิปราย เช่น
-
การนำเสนอผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูต้นแบบ
-
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
-
นวัตกรรมการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5.
การอภิปรายแบบซินดิเคต (Syndicate Discussion)
เป็นการอภิปรายแบบกลุ่มย่อย
แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 6-10 คนที่มีความรู้และประสบการณ์ต่างกัน
จุดประสงค์ของการอภิปรายแบบนี้เพื่อให้กลุ่มย่อยได้ศึกษาหรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่
สมาชิกจะแลกเปลี่ยนความรู่และประสบการณ์กันในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
โดยผลัดกันทำหน้าที่ประธานและเลขานุการกลุ่ม
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้มักเป็นแบบโต๊ะกลม
(Round
Table) แบบครึ่งวงกลม (Semicircle) แบบตัวยู (U-shape) หรือแบบตัวโอ (O-shape) ตัวอย่างหัวข้อการอภิปราย
เช่น
-
การลดปริมาณขยะในโรงเรียน
-
การใช้สมุนไพรไทยในชีวิตประจำวัน
6. การอภิปรายแบบระดมสมอง
(Brainstorming Discussion)
เป็นการอภิปรายแบบแบ่งกลุ่มย่อย
แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 2-6 คนที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะอภิปราย
จุดประสงค์ของการอภิปรายแบบระดมสมองเพื่อแสวงหาความคิดสร้างสรรค์จากสมาชิกทุกคนให้ได้มากที่สุดในระยะเวลาที่จำกัด
แต่ละกลุ่มจะแต่งตั้งประธานนำการอภิปราย
กระตุ้นให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดยไม่มีการตัดสิน ผิด ถูก ดี ไม่ดี
เพื่อรวบรวมความคิดเห็นให้ได้มากที่สุด
ส่วนเลขานุการกลุ่มจะทำหน้าที่บันทึกความคิดเห็นของกลุ่ม
ขั้นต่อไปจึงนำความคิดที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มเสร็จแล้วช่วยกันตัดเติมเสริมแต่งให้ได้ความคิดที่สมบูรณ์ที่สุด
หลังจากนั้นจึงนำเสนอกลุ่มใหญ่ตามเวลาที่กำหนด
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้มักเป็นแบบโต๊ะกลม (Round
Table) แบบครึ่งวงกลม (Semicircle) แบบตัวยู (U-shape) แบบตัวไอ (I-shape) หรือแบบตัวโอ (O-shape) ตัวอย่างหัวข้อการอภิปราย
เช่น
-
ยุทธศาสตร์การยุบรวมเลิกล้มโรงเรียนขนาดเล็ก
-
การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ
7.
การอภิปรายแบบโต๊ะกลม (Round Table Discussion)
การอภิปรายแบบนี้คล้ายคลึงกับการอภิปรายแบบซินดิเคต
คือเป็นการอภิปรายในประเด็นที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่หรือตามที่สมาชิกเลือกตามกลุ่มสนใจ
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน
โดยมีลักษณะเด่น คือ
เน้นการอภิปรายในกลุ่มย่อยซึ่งทุกคนสามารถมองเห็นกันได้หมดและมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้เท่าเทียมกันไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ดังนั้น
การเลือกประธานในแต่ละกลุ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญในการหาข้อสรุปความคิดเห็นของกลุ่ม
ประนีประนอมเมื่อเกิดข้อโต้แย้งกันเอง กระจายโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นโดยปราศจากอคติ
ซึ่งในแต่ละกลุ่มอาจอภิปรายในประเด็นเดียวกันหรือเป็นประเด็นย่อยภายใต้เรื่องเดียวกันก็ได้
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้เป็นมักเป็นแบบโต๊ะกลม
(Round
Table) หรือแบบตัวโอ (O-shape)
8.
การอภิปรายแบบเวียนรอบวง (Circular Response Discussion)
เป็นการอภิปรายในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายหรือตามกลุ่มสนใจโดยมีกฎเกณฑ์กติกาชัดเจน
เช่น ให้อภิปรายหมุนเวียนกันเป็นรอบๆจนครบทุกคน
แต่ละคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้รอบละประมาณ 1-2 นาที ถ้าต้องการสนับสนุนหรือมีข้อโต้แย้งต้องรอจนกว่าจะถึงรอบของตน ถ้ามีเวลามากพออาจใช้จำนวนรอบมากขึ้นได้
สมาชิกในแต่ละกลุ่มไม่ควรเกิน 10 คน เป็นต้น
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้เป็นมักเป็นแบบโต๊ะกลม
(Round
Table) หรือแบบตัวโอ (O-shape)
9.
การอภิปรายแบบปุจฉาวิสัชนา (Questioning-Answering Discussion)
เ ป็นการอภิปรายที่มีจุดประสงค์ให้สมาชิกผู้รับฟังการอภิปรายเกิดความรู้
ความเข้าใจในปัญหาหรือเรื่องที่ต้องการศึกษาในแง่มุมต่างๆอย่างละเอียดตามความต้องการและความสนใจของผู้ฟัง
คณะผู้อภิปรายประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 6-8 คน
โดยมีผู้ดำเนินการอภิปราย (Moderator) จำนวน 1 คนครึ่งนึ่งของคณะผู้อภิปรายจะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรผู้มีประสบการณ์สูงในเรื่องที่จะอภิปราย
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มผู้ฟังทำหน้าที่เสนอข้อคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรตอบ
สำหรับผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่เชื่อมโยงความคิดเห็น ซักถาม ควบคุมเวลาและสรุปผลการอภิปราย
ลักษณะการจัดโต๊ะเก่าอี้มักเป็นแบบห้องเรียนหรือโรงละคร
ตัวอย่างหัวข้ออภิปรายแบบปุจฉา-วิสชนา เช่น
-
มองเด็กไทยในยุคโลกาภิวัตน์
-
บทบาท
อบต.กับการพัฒนาท้องถิ่น
10.
การอภิปรายแบบโต้วาที (Debate Discussion)
เป็นการอภิปรายที่แบ่งผู้อภิปรายออกเป็น
2 ทีม ของประเด็นปัญหาที่มีน้ำหนักความน่าเชื่อถือในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน
อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายค้านโดยมีหัวหน้าทีมอยู่ทั้งสองฝ่าย ทีมหนึ่งประมาณ 3-5
คน ในการอภิปรายจะมีผู้ดำเนินรายการอยู่ 1 คน
แต่ละฝ่ายจะอภิปรายแสดงเหตุผลอ้างอิงข้อมูลต่างๆในการหักล้างข้อมูลของอีกฝ่าย
รวมทั้งสร้างความน่าเชื่อถือทางความคิดและความเชื่อของฝ่ายตนเพื่อให้ผู้ฟังคล้อยตามให้มากที่สุดในเงื่อนเวลาที่เท่ากัน
การอภิปรายแบบนี้ส่วนใหญ่แบ่งเป็นสองรอบ แต่ถ้าผู้ร่วมอภิปรายมีจำนวนมากอาจเหลือเพียงรอบเดียวโดยให้หัวหน้าทีมแต่ละฝ่ายเป็นผู้สรุป
ส่วนใหญ่ผู้ฟังจะสนุกสนานในการฟังคารมของผู้พูดซึ่งต้องมีปฏิภาณไหวพริบและวิธีการีพูดที่เร้าใจ
เมื่อสิ้นสุดการอภิปรายผู้ตัดสินว่าเห็นด้วยกับฝ่ายใดมากที่สุดคือผู้ฟัง
การอภิปรายแบบนี้มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน
อีกแบบหนึ่งเรียกว่า การอภิปรายแบบยอวาที
จะต่างกันตรงที่ผู้ร่วมอภิปรายทั้งสองฝ่ายมีความคิดเห็นตรงกันในหัวข้อที่อภิปรายต่างฝ่ายต่างหาเหตุผลมาสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้มักเป็นแบบห้องเรียน
หรือโรงละคร ตัวอย่างหัวข้ออภิปรายแบบโต้วาที เช่น
-
ซื้อของในห้างดัง
ดีกว่าจ่ายสตางค์ในตลาด
-
สมองคนดีกว่าสมองกล
-
อยู่ผืนแผ่นดินไทย
สุขใจกว่าต่างแดน
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย
มีดังนี้
1. ขั้นเตรียมการอภิปราย ผู้สอนจะต้องเตรียมการในสิ่งต่อไปนี้
-
กำหนดหัวข้อ
วัตถุประสงค์ รูปแบบการอภิปราย
-
ผู้สอนควรกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
และให้เวลาผู้เรียนเตรีนมการอภิปรายหลังจากทราบหัวข้อ
โดยการหาข้อมูลหรือรายละเอียดเพื่อเข้าร่วมอภิปราย
-
สื่อการเรียน
อาจจะเป็นเอกสารหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็น เช่น
แผนภูมิเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ แผ่นใส เป็นต้น
-
สถานที่
อาจจะเป็นห้องเรียนซึ่งผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย เช่น
จัดแบบวงกลม ครึ่งวงกลม รูปตัวยู รูปตัวโอ รูปตัวที
2.
ขั้นดำเนินการอภิปราย
ผู้สอนมีบทบาทสำคัญโดยเป็นผู้ควบคุมให้การอภิปรายดำเนินไปด้วยดี
ดังนั้นผู้สอนควรดำเนินการดังนี้
-
บอกหัวข้อหรือปัญหาและวัตถุประสงค์ของการอภิปราย
-
บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปราย
เช่น รูปแบบวิธีการอภิปราย ระยะเวลาที่ใช้ บทบาทหน้าที่ของผู้อภิปราย
ผู้ดำเนินการอภิปราย การรับฟังผู้อื่นและการเคารพมติส่วนรวม เป็นต้น
-
ดำเนินการอภิปราย โดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายจะต้องใช้ความสามารถควบคุมให้การอภิปรายดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ขณะที่ผู้เรียนเข้ากลุ่มอภิปราย
ผู้สอนไม่ควรเข้าไปกำกับหรือแทรกแซงผู้เรียนตลอดเวลา
แต่ควรคอยดูแลกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ ให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนต้องการเท่านั้น
3.
ขั้นสรุป ประกอบด้วย
-
สรุปผลการอภิปราย
ผู้แทนกลุ่มสรุปผลการอภิปรายแล้วนำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุม
เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถาม ผู้อภิปรายตอบคำถาม
ผู้สอนคอยช่วยเหลือเพิ่มเติมในสระสำคัญได้
4. ขั้นสรุปบทเรียน
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญและแนวคิดที่ได้จากการอภิปราย
5. ขั้นประเมินผลการเรียน
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันนำเสนอข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้ต่อไป
ข้อดีและข้อจำกัด
การจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายมีข้อดีและข้อจำกัด
ดังนี้
ข้อดี
1.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์
ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
2.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าพูด กล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออก
4.
ฝึกความเป็นประชาธิปไตย
เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.
ช่วยให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น
ข้อจำกัด
1.
ใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
2.
ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร
3.
ผู้เรียนบางคนอาจผูกขาดการอภิปราย
ทำให้ผู้อื่นไม่ได้แสดงความคิดเห็น
4.
ผู้สอนอาจเกินความขับข้องใจ
ถ้าการอภิปรายครั้งนั้นไม่สามารถสรุปผลในรูปที่ผู้สอนปรารถนาได้
คณะกรรมการจัดทำต้นฉบับ
คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (http://info.vru.ac.th/documents/50/1406779749.6.1)
ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบอธิปรายไว้ดังนี้
ความหมาย
การจัดการเรียนรู้แบบอธิปราย
เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ประสานงาน
แทนที่ผู้สอนจะเป็นฝ่ายตั้งปัญหาคอยถามผู้เรียน ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามบ้างและให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยตอบด้วย
ความมุ่งหมาย
วิธีสอนแบบอภิปรายมีความมุ่งหมาย
เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยและเพื่อฝึกให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้
วิธีสอนแบบอภิปรายจะแบ่งการดำเนินการอภิปรายเป็น 2
ขั้นตอน ขั้นนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปรายและขั้นอภิปรายถกเถียง
การอภิปรายแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทำการอภิปรายซึ่งนั่นอยู่บนเวทีหรือหน้าชั้นเรียน
กับฝ่ายผู้ฟัง ในกลุ่มผู้ทำการอภิปรายจะประกอบด้วยประธาน 1 คน
ทำหน้าที่เป็นผู้นำการอภิปราย เป็นผู้เสนอปัญหา
มอบให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ตอบสรุปประเด็นสำคัญนำการอภิปรายไม่ให้ออกนอกทาง
โน้มน้าวตัดบทสมาชิกที่ถกเถียงกัน
รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ฟังและสรุปผลการอภิปราย
นอกจากนี้ยังมีอภิปรายอีกจำนวนหนึ่ง
การนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปราย
ประธานจะต้องกล่าวแนะนำหัวข้อที่จะอภิปรายจากนั้นแนะนำสมาชิกผู้ทำการอภิปรายแต่ละคน
แล้วจึงดำเนินขั้นต่อไป
การอภิปรายถกเถียง ประธานเริ่มใช้คำถาม
ถามให้เกิดปัญหาแล้วให้สมาชิกออกความคิดเห็น
ประธานต้องคุมการอภิปรายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสรุปผลการอภิปราย
ข้อดี
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น
2. พัฒนาสติปัญญาของผู้เรียนด้านความคิด
3. ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนเพื่อนำมาใช้ในการอภิปราย
4. ส่งเสริมการเคารพในเหตุผลของผู้อื่น
ข้อจำกัด
1. ในบางหัวข้อสิ้นเปลืองเวลาในการอภิปรายมาก
หากประธานไม่สามารถคุมสถานการณ์ให้ดีได้
2. หากการตั้งหัวข้อไม่ดีจะทำให้การอภิปรายไม่สัมฤทธิ์ผล
อรุณกมล
อินทร์จันทร์(http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121707/innovation/index.php/2014-02-04-10-18-22
) ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบอภิปรายไว้ดังนี้
ความหมายการสอนแบบบรรยาย
คือกระบวนการที่ผู้สอนมุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน
โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบแนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน
และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง
2.
เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
3. เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ
องค์ประกอบ
1.
เรื่องหัวข้อประเด็นปัญหาที่จะอภิปราย
2. ผู้อภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย
3. กระบวนการอภิปราย
4. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการอภิปราย
ประเภทของการอภิปราย
การอภิปรายมีรูปแบบหรือประเภทการจัดการอภิปรายหลากหลายรูปแบบ
อาทิเช่น
· การอภิปรายเป็นคณะ
· การอภิปรายแบบฟอรั่ม
· การอภิปรายแบบสัมมนา
· การอภิปรายแบบระดมสมอง
· การอภิปรายแบบโต๊ะกลม
· การอภิปรายแบบโต้วาที
ขั้นตอนการเรียนรู้
1.
ขั้นตอนการอภิปราย
· กำหนดหัวข้อ
วัตถุประสงค์ รูปแบบอภิปราย
· ผู้สอนควรกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
· สื่อการเรียน
อาจจะเป็นเอกสารหรือวัสดุต่างๆที่จำเป็น
· สถานที่
อาจจะเป็นห้องเรียนซึ่งผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย
2. ขั้นบรรยาย
· บอกหัวข้อหรือปัญหาและวัตถุประสงค์
· บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์
· ดำเนินการอภิปราย
3.
ขั้นสรุป
· สรุปผลการอภิปราย
ผู้แทนกลุ่มสรุปผลการอภิปรายแล้วนำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุม
4.
ขั้นสรุปบทเรียน
· ผู้สอนและผู้รีเยนร่วมกันสรุปสาระสำคัญและแนวคิดที่ได้จาการอภิปราย
5. ขั้นประเมินผลการเรียน
· ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้
ข้อดี
1.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์
ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3. ผู้เรียนไม่เบื่อ เพราะมีการปฏิบัติตลอดเวลาเรียน
ข้อจำกัด
1. ใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
2. ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
3. ผู้สอนอาจเกิดความขับข้องใจ
ถ้าการอภิปรายครั้งนั้นไม่สามารถสรุปผลในรูปที่ผู้สอนปรารถนา
สรุปวิธีการสอนแบบอภิปราย
ความหมายของการอภิปราย
การจัดการเรียนรู้แบบอธิปราย
เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบแนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน
และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง
2.
เพื่อฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การนำเสนอผู้นำ ผู้ตาม
การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
3.
เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูล
ข้อเท็จจริงมาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ
ประเภทของการอภิปราย
การอภิปรายนั้นมีรูปแบบหรือประเภทการจัดการอภิปรายหลากหลายรูปแบบ
อาทิ เช่น
1.
การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) เป็นการอภิปรายที่แยกคณะผู้อภิปรายจากผู้ฟัง
ซึ่งวิธีการอภิปรายจะแบ่งเป็นรอบ ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 รอบ คือ
รอบแรกจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญนำเสนอองค์ความรู้ในเวลาที่กำหนดให้
ส่วนรอบที่สองให้สรุปประเด็น หรือเติมเต็มความรู้จากรอบแรก
หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามและถ้าตรงกับเรื่องใดผู้เชี่ยวชาญท่านั้นจะเป็นผู้ตอบ
2.
การอภิปรายแบบฟอรั่ม (Forum Discussion) เป็นการอภิปรายในเรื่องหรือหัวข้อที่ทุกคนสนใจร่วมกัน
โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆเป็นอย่างดีหรือบางทีเราเรียกว่าองค์ปาฐกมาแสดงปาฐกถานำ
ต่อจากนั้นจึงมีการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจมากกว่า 1 คน หลังจากจบการปาฐกถาหรืออภิปรายแล้ว
จะเปิดเวทีให้ผู้ฟังซักถามได้อย่างเต็มที่
3.
การอภิปรายแบบสัมมนา (Seminar Discussion) เป็นการอภิปรายที่มีสมาชิกกลุ่มจำนวนมากกว่า 20 คนขึ้นไปในหัวข้อกำหนดไว้
ส่วนใหญ่เป็นหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการให้สมาชิกศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
4.
การอภิปรายแบบซิมโพเซี่ยม (Symposium Discussion) เป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้อภิปรายหลายคน
ซึ่งผู้ร่วมอภิปรายแต่ละคนจะนำเสนอผลงานหรือข้อค้นพบที่ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามาอภิปรายกัน
5.
การอภิปรายแบบซินดิเคต (Syndicate Discussion) เป็นการอภิปรายแบบกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 6-10 คนที่มีความรู้และประสบการณ์ต่างกัน ซึ่งสมาชิกจะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
โดยผลัดกันทำหน้าที่ประธานและเลขานุการกลุ่ม
6.
การอภิปรายแบบระดมสมอง (Brainstorming Discussion) เป็นการอภิปรายแบบแบ่งกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 2-6 คนที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะอภิปราย
7.
การอภิปรายแบบโต๊ะกลม (Round Table Discussion) การอภิปรายแบบนี้คล้ายคลึงกับการอภิปรายแบบซินดิเคต
คือเป็นการอภิปรายในประเด็นที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่หรือตามที่สมาชิกเลือกตามกลุ่มสนใจ
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน
8.
การอภิปรายแบบเวียนรอบวง (Circular Response Discussion) เป็นการอภิปรายในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายหรือตามกลุ่มสนใจโดยมีกฎเกณฑ์กติกาชัดเจน
9.
การอภิปรายแบบปุจฉาวิสัชนา (Questioning-Answering
Discussion) เป็นการอภิปรายที่มีจุดประสงค์ให้สมาชิกผู้รับฟังการอภิปรายเกิดความรู้
ความเข้าใจในปัญหาหรือเรื่องที่ต้องการศึกษาในแง่มุมต่างๆอย่างละเอียดตามความต้องการและความสนใจของผู้ฟัง
คณะผู้อภิปรายประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 6-8 คน
และผู้ดำเนินการอภิปรายจำนวน 1 คน
10.
การอภิปรายแบบโต้วาที (Debate Discussion) เป็นการอภิปรายที่แบ่งผู้อภิปรายออกเป็น 2 ทีม ของประเด็นปัญหาที่มีน้ำหนักความน่าเชื่อถือในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายค้านโดยมีหัวหน้าทีมอยู่ทั้งสองฝ่าย
ทีมหนึ่งประมาณ 3-5 คน และมีผู้ดำเนินรายการอยู่ 1 คนโดยแต่ละฝ่ายจะอภิปรายแสดงเหตุผลอ้างอิงข้อมูลต่างๆในการหักล้างข้อมูลของอีกฝ่าย
ขั้นตอนการเรียนรู้
1.
ขั้นตอนการอภิปราย
· กำหนดหัวข้อ
วัตถุประสงค์ รูปแบบอภิปราย
· ผู้เรียน
· สื่อการเรียน
· สถานที่
2. ขั้นบรรยาย
· บอกหัวข้อหรือปัญหาและวัตถุประสงค์
· บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์
· ดำเนินการอภิปราย
3.
ขั้นสรุป
4.
ขั้นสรุปบทเรียน
5. ขั้นประเมินผลการเรียน
ข้อดีและข้อจำกัด
การจัดการเรียนรู้แบบอภิปรายมีข้อดีและข้อจำกัด
ดังนี้
ข้อดี
1.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
2.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าพูด กล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออก
4.
ฝึกความเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.
ช่วยให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น
6.
ผู้เรียนไม่เบื่อ เพราะมีการปฏิบัติกิจกรรมตลอดเวลาเรียน
ข้อจำกัด
1.
ใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
2.
ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร
3.
ผู้เรียนบางคนอาจผูกขาดการอภิปราย
ทำให้ผู้อื่นไม่ได้แสดงความคิดเห็น
4.
ผู้สอนอาจเกินความขับข้องใจ
ถ้าการอภิปรายครั้งนั้นไม่สามารถสรุปผลในรูปที่ผู้สอนปรารถนาได้
ที่มา
สุวิทย์
มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2551). วิธีการจัดการเรียนรู้
: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.
(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การพิมพ์.
คณะกรรมการจัดทำต้นฉบับ
คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียน
เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. [online]
การจัดการเรียนรู้ –
สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 28
มิถุนายน 2558.
อรุณกมล
อินทร์จันทร์. [online]
(http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121707/innovation/
index.php/2014-02-04-10-18-22 ). วิธีการสอนแบบอภิปราย - Innovation!.
index.php/2014-02-04-10-18-22 ). วิธีการสอนแบบอภิปราย - Innovation!.
สืบค้นเมื่อวันที่ 28
มิถุนายน 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น