วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

        พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา (2542: 77) ได้กล่าวความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ (Learning) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง นักจิตวิทยา ครู อาจารย์ ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงของการศึกษา จึงให้ความสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ และการประพฤติปฏิบัติของคนเราจะเป็นไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ
  สุวรรณี  ยหะกร (2553: 10-6) ได้อ้างถึงนักวิชาการชื่อ
นรา สมประสงค์ และโกศล มีคุณ (2538: 144) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้สรุปได้ดังว่า เป็นพื้นฐานและกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวผู้เรียนมาจัดรูปแบบการเรียนการสอน มาจัดสภาพแวดล้อม หรือมาจัดสถานการณ์ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนเพื่อให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสามารถนำไปใช้ได้
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt ได้อ้างถึงนักวิชาการชื่อ
Richard  R. Bootsin  กล่าวว่า 
                          1) การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
                          2) มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
                          3) ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน  No one old to learn
                          4) การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
สรุปความสำคัญของการเรียนรู้ 
         การเรียนรู้มีความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการเรียนการสอนนั้นผู้สอนสามารถใช้เป็นพื้นฐานและกรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดได้ 
ที่มา
พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา Educational Psychology.  
                          กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สุวรรณี  ยหะกร. (2553). เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาและวิทยาการการ
                         เรียนรู้ Psychology and Learning Methodology. กรุงเทพฯ:          
                         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. ทฤษฎีการเรียนรู้.    
                         สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558.

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

          อัชรา เอิบสุขสิริ (2556: 108) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า  เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน
           วิชาการ.คอม (http://www.vcharkarn.com/lesson/1625)  ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
            บ้านจอมยุทธ (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html) ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ของนักจิตวิทยาแต่ละคน ไว้ดังนี้  
                   คิมเบิล (Kimble , 1964)  กล่าวว่า การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง
                   ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981)  กล่าวว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
                   คอนบาค (Cronbach)  กล่าวว่า การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา 
                   พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary)  กล่าวว่า การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน
                   ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121)  กล่าวว่า  การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
สรุปความหมายของการเรียนรู้
           ความหมายของการเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลนั้นจะเกิดขึ้นค่อนข้างจะถาวร
ที่มา
       อัชรา เอิบสุขสิริ. (2556). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้น (1991) จำกัด.
       วิชาการ.คอม. [online] (http://www.vcharkarn.com/lesson/1625). 
                      ความหมายการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558.
        บ้านจอมยุทธ. [online]             
                     (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html).
                     จิตวิทยา...ตอนที่ 5 : จิตวิทยากับการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่16 มิถุนายน 2558.